วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2552

“โครงการรางวัลสื่อสร้างสรรค์สุขภาพจิต ประจำปี 2552”
“ Mental Health Media Award 2009”

ที่มาโครงการ

ในโลกปัจจุบัน สื่อมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ตลอดไปจนถึงครอบครัวและตัวบุคคล พลังอำนาจในการสื่อสาร สามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ ทั้งในทางที่พัฒนาขึ้น และในขณะเดียวกัน หากมิระวัง สื่ออาจจะทำให้เกิดผลกระทบในทางลบต่อตัวบุคคล และสังคมโดยเฉพาะผลกระทบทางด้านจิตใจ

ภาพของผู้ทุกข์ทางใจ เจ็บป่วยทางจิต เป็นที่สนใจของคนทั้งประเทศ และอาจถูกนำเสนอผ่านสื่อเป็นจำนวนนับครั้งไม่ถ้วน ภาพของคนป่วยทางจิตที่ทำร้ายคน ภาพการฆ่าตัวตายที่เสนอถึงสภาพศพและร่องรอยของวิธีการจนถึงแก่ความตาย นำความโศกสลดแก่ผู้อ่าน ผู้พบเห็น ภาพยนตร์และละครต่างๆนำเสนอในลักษณะที่เป็นบุคคลก้าวร้าว รุนแรงและเป็นบุคคลอันตราย

มีความจริงที่กล่าวอ้างว่า เป็นการนำเสนอข้อเท็จจริงต่อสาธารณชน เพื่อให้สังคมรับรู้ถึงปัญหา เพื่อกระตุ้นให้สังคมเยียวยาแก้ไข แต่มีรายงานการวิจัยยืนยันชัดเจนว่าการนำเสนอภาพข่าว รายละเอียดของปัญหาสุขภาพ อาจทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ อาจเกิดผลกระทบต่อญาติผู้ป่วย ผู้เสียชีวิต และก่อให้เกิดอคติในปัญหาสุขภาพจิตให้ฝังรากลึกลงในจิตใจของทุกคน จนเกิดภาพของสังคมที่รังเกียจคนที่เจ็บป่วยทางจิต มองว่าเป็นผู้อ่อนแอ ยอมแพ้ชีวิต และไม่สมควรอยู่ ร่วมกับคนในสังคม

ในทางกลับกัน การสร้างสรรค์งานสื่อสารมวลชน โดยนำเสนอแง่มุมให้เกิดความรู้ และสร้างความตระหนักถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้แม้กระทั่งผู้รับสื่อเอง ทำให้เกิดความเห็นอกเห็นใจ ลดอคติ และอยู่ในสังคมร่วมกันอย่างมีความสุข

กรมสุขภาพจิตเล็งเห็นถึงความสำคัญในการสร้างสรรค์สื่อต่างๆทั้งระดับบุคคล ระดับองค์กร เช่น ผู้ผลิตสื่อทั้งภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ โฆษณาสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เพื่อเป็นกำลังใจและแรงบันดาลใจ ให้มีงานที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ผลิตผลงานที่ดี โดยมุ่งเน้นการลดช่องว่างที่เกิดขึ้นในปัญหาสุขภาพจิต การลดอคตินี้ และพร้อมเป็นตัวอย่างที่ดีของสื่อสารมวลชนรุ่นหลัง ควรที่จะศึกษาและดำเนินรอยตาม และพร้อมที่จะพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

จึงเป็นที่มาของโครงการ “รางวัลสื่อสร้างสรรค์สุขภาพจิต”(Mental Health Media Award) ที่กรมสุขภาพจิต มีความภาคภูมิใจ และเป็นเกียรติอย่างสูงในการประกาศให้สาธารณชนได้ทราบถึงคุณงามความดีในผลงานของท่าน และเพื่อร่วมกันเป็นพันธมิตรสร้างสรรค์งานที่ดีคู่สังคมไทยตลอดไป

วัตถุประสงค์โครงการ

เพื่อประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติให้กับสื่อมวลชนที่สร้างสรรค์งานที่ดีในด้านสุขภาพจิต และเป็นการยกย่องเชิดชูคุณงามความดี ให้ผู้ผลิตสื่อมีกำลังใจในการผลิตผลงานดีๆ โดยเน้นให้สื่อตระหนักถึงสุขภาพจิตของคนในสังคม ผลิตสื่ออย่างเข้าใจ และเข้าถึงวิธีการในการนำเสนอสื่ออย่างสร้างสรรค์มีคุณภาพ คำนึงถึงผลกระทบต่อจิตใจของผู้รับสาร ตลอดจนเป็นตัวอย่างที่ดี ในการเป็นแบบอย่างให้สื่อ รุ่นหลังได้ดำเนินรอยตาม และพร้อมที่จะพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ซึ่งจะทำให้ประชาชนสามารถรับข่าวสารในแง่มุมดีๆ จากสื่อต่างๆ มาปรับใช้ประโยชน์ในการนำมาพัฒนาวิธีคิดและการแก้ปัญหาสุขภาพจิตได้อย่างถูกวิธี อันจะเป็นผลดี ต่อผู้มีปัญหาสุขภาพจิต และผู้ที่อยู่ร่วมกันในสังคม

แผนงานกิจกรรมโครงการมอบรางวัลสื่อสร้างสรรค์สุขภาพจิต ประจำปี 2552

1. จัดประชุมคณะกรรมการพิจารณารางวัลสื่อสร้างสรรค์สุขภาพจิต เพื่อกำหนดเกณฑ์การสรรหารางวัล

2. สรรหาและรวบรวมผลงานสื่อตามเกณฑ์การพิจารณารางวัล

3. จัดประชุมเพื่อตัดสินรางวัลสื่อสร้างสรรค์สุขภาพจิต

4. จัดงานมอบรางวัลสื่อสร้างสรรค์สุขภาพจิต นิทรรศการสื่อที่ทรงคุณค่า และแถลงข่าวผลรางวัลสื่อสร้างสรรค์สุขภาพจิต



รางวัลสื่อสร้างสรรค์สุขภาพจิต ประจำปี 2552 (Mental Health Media Award 2009)

ในการดำเนินการ การสรรหารางวัลสื่อสร้างสรรค์สุขภาพจิต ประจำปี 2552 กรมสุขภาพจิต ได้แบ่งสื่อออกเป็น 4 สาขา ได้แก่

-สาขาสื่อภาพยนตร์

-สาขาสื่อละครโทรทัศน์

-สาขาสื่อโฆษณาโทรทัศน์

-สาขาสื่อภาพข่าวหนังสือพิมพ์

เกณฑ์การพิจารณารางวัลสื่อสร้างสรรค์สุขภาพจิต ประจำปี 2552

Mental Health Media Award 2009

เกณฑ์การพิจารณารางวัล สื่อสร้างสรรค์สุขภาพจิต ประจำปี 2552”

(Mental Health Media Award 2009)

สาขาสื่อภาพยนตร์

1. เป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องยาวที่เผยแพร่ทางโรงภาพยนตร์ต่างๆ

2. เป็นผลงานที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต ให้ความสำคัญในการนำเสนอสภาพปัญหา แนวทางแก้ไข รวมถึง การส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิต

3. เป็นผลงานที่ทำให้ประชาชนได้รับรู้ เกิดความเข้าใจ และสร้างความตระหนักในด้านสุขภาพจิตอย่างถูกต้อง

4. เป็นผลงานที่มีวิธีคิดและมุมมองต่อสุขภาพจิตอย่างสร้างสรรค์

5. เป็นผลงานที่เผยแพร่ผ่านทางโรงภาพยนตร์ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2551 ถึง 30 มิถุนายน 2552

เกณฑ์การพิจารณารางวัล สื่อสร้างสรรค์สุขภาพจิต ประจำปี 2552”

(Mental Health Media Award 2009)

สาขาสื่อละครโทรทัศน์

1. เป็นผลงานที่นำเสนอผ่านทางโทรทัศน์ในรูปแบบละคร ผ่านทาง Free TV

2. เป็นละครที่มีวิธีการนำเสนอสะท้อนด้านสุขภาพจิตอย่างถูกต้อง

3. เป็นละครที่มีการนำเสนออย่างสร้างสรรค์

4. เป็นผลงานละครทางโทรทัศน์ที่ออกอากาศตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2551 ถึง

30 มิถุนายน 2552

เกณฑ์การพิจารณารางวัล สื่อสร้างสรรค์สุขภาพจิต ประจำปี 2552

(Mental Health Media Award 2009)

สาขาสื่อโฆษณาโทรทัศน์

1. เป็นผลงานสปอตโฆษณาโทรทัศน์ที่ผลิตในประเทศไทยและเผยแพร่ผ่านทาง Free TV

ยกเว้นสื่อโฆษณาที่ผลิตโดยหน่วยงานภาครัฐ / รัฐวิสาหกิจ

2. เป็นผลงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพจิตกับประชาชน ให้ความสำคัญในการนำเสนอสภาพ

ปัญหา แนวทางแก้ไข รวมถึงการส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิต

3. เป็นผลงานที่ทำให้ประชาชนได้รับรู้ เกิดความเข้าใจ และสร้างความตระหนักในด้านสุขภาพจิตอย่าง

ถูกต้อง

4. เป็นผลงานที่มีวิธีการนำเสนออย่างสร้างสรรค์

5. เป็นผลงานที่เผยแพร่ผ่านสื่อโทรทัศน์ตั้งแต่วันที่1กรกฎาคม 2551 ถึง 30 มิถุนายน 2552

เกณฑ์การพิจารณารางวัล สื่อสร้างสรรค์สุขภาพจิต ประจำปี 2552

(Mental Health Media Award 2009)

สาขาสื่อภาพข่าวหนังสือพิมพ์

1. เป็นผลงานนำเสนอภาพข่าวหนังสือพิมพ์หน้า 1 ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตสังคม

2. เป็นผลงานที่ทำให้ประชาชนได้รับรู้ประเด็นภาพข่าวในเชิงบวก สื่อให้เกิดความเข้าใจ และสร้างความ

ตระหนักในด้านสุขภาพจิตอย่างถูกต้อง

3. เป็นผลงานที่มีวิธีการนำเสนอและมุมมองต่อสุขภาพจิตอย่างสร้างสรรค์

4. เป็นผลงานทางสื่อสิ่งพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ภาษาไทยที่นำเสนอตั้งแต่วันที่ 1กรกฎาคม 2551 ถึง 30

มิถุนายน 2552

คณะกรรมการอำนวยการจัดกิจกรรม

สรรหาและมอบรางวัลสื่อสร้างสรรค์สุขภาพจิต ประกอบด้วย

1. นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต

2. สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

3. นายสวิชย์ บำรุงสุข กรรมการและประธานคณะอนุกรรมการฝ่ายเผยแพร่และ

ประชาสัมพันธ์

4. นางกุมภา ศรีสงเคราะห์ ผู้แทนสมาคมผู้ปกครองบุคคลออทึซึมไทย

5. นางสาวสุพรรณี ภู่กำชัย กลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต

6. นางนันทนา รัตนากร สำนักสุขภาพจิตสังคม กรมสุขภาพจิต

7. นางสาวพันธุ์วิภา เหมือนเพชร สำนักสุขภาพจิตสังคม กรมสุขภาพจิต

8. นายแพทย์ปภัสสร เจียมบุญศรี รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต

9. นายธาราวุฒิ สืบเชื้อ กรรมการ-ฝ่ายประสานงานภาครัฐบริษัท ไอเดีย เอเวนู จำกัด

10. นายสมปอง เกิดแสง นายกสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิต

11. นางเสาวลักษณ์ สุวรรณไมตรี ประธานวิชาการของสมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทย

12. แพทย์หญิงอินทิรา พัวสกุล กลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต

13. นางสาวปิยะดา ศรีโปฎก สำนักสุขภาพจิตสังคม กรมสุขภาพจิต

14. นางสาววรรณภา มาตย์นอก สำนักสุขภาพจิตสังคม กรมสุขภาพจิต

15. นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต

16. นางสาวภัคมน สิทธิศุข เจ้าหน้าที่สมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุ

โทรทัศน์

17. รศ.ดร.อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย นายกสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย

18. นางพรทิพย์ ปรีชาชาญพาณิชย์ ผู้แทนสมาคมสายใยครอบครัว

19. นางภมริน เชาวนจินดา กลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต

20. นางนิศกร ตั้งสกุล สำนักสุขภาพจิตสังคม กรมสุขภาพจิต

21. นางสาวสุวิมล อินทร์เชื้อ สำนักสุขภาพจิตสังคม กรมสุขภาพจิต

22. นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผู้อำนวยการสำนักสุขภาพจิตสังคม

23. สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย

24. นางสาวอัญชลี ศิลาเกษ นายกสมาคมนักสังคมสงเคราะห์จิตเวช

25. นายแพทย์พีรพล ภัทรนุธาพร จิตแพทย์โรงพยาบาลระยอง

26. นางนันทนา ศรีพินิจ กลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต

27. นางวรวรรณ จุฑา สำนักสุขภาพจิตสังคม กรมสุขภาพจิต

28. นางสาวนิภาพร พูลแสวงทรัพย์ สำนักสุขภาพจิตสังคม กรมสุขภาพจิต

คณะกรรมการพิจารณาตัดสินรางวัลสื่อสร้างสรรค์สุขภาพจิต

สาขาภาพข่าวหนังสือพิมพ์ ประจำปี ๒๕๕๒

1. นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต

2. สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

3. นายสวิชย์ บำรุงสุข กรรมการและประธานคณะอนุกรรมการฝ่ายเผยแพร่และประ

สัมพันธ์

4. นางกุมภา ศรีสงเคราะห์ ผู้แทนสมาคมผู้ปกครองบุคคลออทึซึมไทย

5. นางสาวสุพรรณี ภู่กำชัย กลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต

6. นางนันทนา รัตนากร สำนักสุขภาพจิตสังคม กรมสุขภาพจิต

7. นางสาวพันธุ์วิภา เหมือนเพชร สำนักสุขภาพจิตสังคม กรมสุขภาพจิต

คณะกรรมการพิจารณาตัดสินรางวัลสื่อสร้างสรรค์สุขภาพจิต

สาขาสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ ประจำปี ๒๕๕๒

1. นายแพทย์ปภัสสร เจียมบุญศรี รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต

2. นายธาราวุฒิ สืบเชื้อ กรรมการ-ฝ่ายประสานงานภาครัฐบริษัท ไอเดีย เอเวนู จำกัด

3. นายสมปอง เกิดแสง นายกสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิต

4. นางเสาวลักษณ์ สุวรรณไมตรี ประธานวิชาการของสมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทย

5. แพทย์หญิงอินทิรา พัวสกุล กลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต

6. นางสาวปิยะดา ศรีโปฎก สำนักสุขภาพจิตสังคม กรมสุขภาพจิต

7. นางสาววรรณภา มาตย์นอก สำนักสุขภาพจิตสังคม กรมสุขภาพจิต

คณะกรรมการพิจารณาตัดสินรางวัลสื่อสร้างสรรค์สุขภาพจิต

สาขาละครโทรทัศน์ ประจำปี ๒๕๕๒

1. นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต

2. นางสาวภัคมน สิทธิศุข เจ้าหน้าที่สมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุ

โทรทัศน์

3. รศ.ดร.อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย นายกสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย

4. นางพรทิพย์ ปรีชาชาญพาณิชย์ ผู้แทนสมาคมสายใยครอบครัว

5. นางภมริน เชาวนจินดา กลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต

6. นางนิศกร ตั้งสกุล สำนักสุขภาพจิตสังคม กรมสุขภาพจิต

7. นางสาวสุวิมล อินทร์เชื้อ สำนักสุขภาพจิตสังคม กรมสุขภาพจิต

คณะกรรมการพิจารณาตัดสินรางวัลสื่อสร้างสรรค์สุขภาพจิต

สาขาสื่อภาพยนตร์ ประจำปี ๒๕๕๒

1. นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผู้อำนวยการสำนักสุขภาพจิตสังคม

2. สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย

3. นางสาวอัญชลี ศิลาเกษ นายกสมาคมนักสังคมสงเคราะห์จิตเวช

4. นายแพทย์พีรพล ภัทรนุธาพร จิตแพทย์โรงพยาบาลระยอง

5. นางนันทนา ศรีพินิจ กลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต

6. นางวรวรรณ จุฑา สำนักสุขภาพจิตสังคม กรมสุขภาพจิต

7. นางสาวนิภาพร พูลแสวงทรัพย์ สำนักสุขภาพจิตสังคม กรมสุขภาพจิต